ดำเนินงานโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ประเภทหลักสูตร ประกาศนียบัตร (Non-Degree)
สถานที่ฝึกอบรม คณะวิทยาศาสตร์ สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม
กลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 40 คน)
1 ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือระดับ ปวช.
2 ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.
3 ผู้ที่ทำงานแล้วและต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ
4 ผู้ที่ทำงานแล้วแต่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่แตกต่างไปจากเดิม
5 ผู้สูงอายุหรือผู้ที่เกษียณแล้วต้องการจะประกอบอาชีพอื่นที่แตกต่างจากเดิม
ปัจจุบัน Big Data และ Data Analytics เป็นเทคโนโลยีที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ มาใช้ประโยชน์ในเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการตัดสินใจขององกรค์ หรือเจ้าของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระบบการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ย่อมมีการกำหนดให้มีการเก็บข้อมูลต่างๆอย่างมากมาย และเป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า การได้มาซึ่งข้อมูลแต่ละอย่างนั้น ต้องมีการใช้ทรัพยากรทั้งคน เครื่องมือ วัตถุดิบ เวลา และค่าใช้จ่าย แต่จะไม่เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการเก็บข้อมูลเลย หากผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวไม่มีทักษะในการอ่านหรือแปลงข้อมูลดังกล่าวเป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และจะสูญเปล่ามากขึ้นถ้าไม่มีการนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้งาน เนื่องด้วยข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจต้องใช้เวลาอันรวดเร็ว และต้องการวิธีที่ช่วยวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่ม จำแนกกลุ่มหรือคาดการณ์ความเป็นไปได้ ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จึงพัฒนาหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลขี้น โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน ถึงวิธีการจัดกลุ่ม จำแนกกลุ่มหรือการคาดการณ์ดังกล่าว ได้เกิดทักษะการใช้ Tools และการแสดงผล (Data Visualization) เพื่อช่วยให้นำข้อมูลที่ภาคอุตสาหกรรมมีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรนี้ไปต่อยอดและเรียนรู้เพิ่มเติมได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตกำลังคนที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถขั้นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลได้ โดยมีพื้นฐานในการทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล หรือเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อจบการอบรม
1.ผู้เข้าอบรมอธิบาย ยกตัวอย่าง ข้อมูล และวิเคราะห์ด้วยยเหมืองกระบวนการ และการใช้ Tools ในการแสดงผล
2. ผู้เข้าอบรมอธิบาย ยกตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ Tools และการแสดงผล (Data Visualization) ได้
แนวทางการจัดการเรียนการสอน
การจัดอบรมกำหนดหัวข้อแยกเป็น 2 ส่วน รวมระยะเวลาอบรม จำนวน 285 ชั่วโมง แบ่งเป็นการอบรมเชิงทฤษฎี จำนวน 60 ชั่วโมง และเชิงปฏิบัติการ จำนวน 225 ชั่วโมง ซึ่งสามารถเทียบเคียงเป็นจำนวนหน่วยกิต ตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้จำนวน 9 หน่วยกิต โดยกำหนดการอบรมในวันเสาร์ ใช้สถานที่ ณ มหาวิทยาลัยสยาม เนื้อหาการอบรมเน้นเชิงทฤษฎีร้อยละ 20 และเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 80 รายละเอียดหัวข้อการอบรม ดังนี้
โมดูลที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล
(ภาคทฤษฎี 20 ชั่วโมง)
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการดำเนินการในอุตสาหกรรมการผลิต/ระบบการบริหารจัดการในอุตสาหกรรม ข้อมูลในอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
โมดูลที่ 2 การทำงานด้วยเหมืองกระบวนการ
(ภาคทฤษฎี 20 ชั่วโมง, ภาคปฏิบัติ 60 ชั่วโมง)
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานแนวคิดและคุณลักษณะเฉพาะของการทำงานด้วยเหมืองกระบวนการ และการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ได้
โมดูลที่ 3 จัดการด้วยหลักวิทยาการข้อมูล
(ภาคทฤษฎี 20 ชั่วโมง, ภาคปฏิบัติ 165 ชั่วโมง)
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านองค์ประกอบข้อมูลขนาดใหญ่ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การนำข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้งาน และการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ นำทักษะการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลมาปฏิบัติงานในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มความรู้และสร้างทักษะให้สามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการของผู้ที่เข้าอบรมได้